การพิมพ์ข้อความผ่านเฟซบุ้ก ในกรณีที่เป็นการใส่ความผู้อื่นโดยการด่าว่าผู้อื่นให้เสียหายต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ และถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๘
ส่วนข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนนั้น
คำพิพากษาศาลจังหวัดชลบุรี คดีหมายเลขดำที่ ๕๕๗๓/๒๕๕๗ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๗๓๗/๒๕๕๘ เห็นว่า “ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
"มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ฯลฯ "
กรณีเป็นการบัญญัติเช่นเดียวกับความผิดข้อหาปลอมเอกสาร เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริงตามประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการปลอมเอกสารไม่ครอบคลุมถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ด้วย
ดังนั้น หากมีการนำข้อมูลปลอม เติม หรือตัดทอน หรือแก้ไขข้อมูลด้วยประการใด ๆ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน อันเป็นองค์ประกอบความผิดข้อหาปลอมเอกสาร แล้วนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ก็จะมีความผิดตามบทบัญญัตินี้
แต่ไม่รวมถึง การกระทำความผิดข้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้เป็นความผิดโดยเฉพาะแล้ว หากจะบัญญัติให้เป็นความผิดเช่นนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังหรือได้รับความอับอาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามมาตรา ๑๖ และเป็นความผิดอันยอมความได้
"มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นความผิดอันยอมความได้ ฯลฯ "
ดังนั้น การกระทำจึงไม่เป็นความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๔ (๑) แต่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๘”
ในส่วนที่จะเป็นความผิดนอกราชอาณาจักรหรือไม่นั้น อัยการสูงสุด เห็นว่า ถ้าผู้เสียหายและผู้ต้องหาเป็นคนไทยและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ประกอบกับพฤติการณ์นำเข้าข้อความหมิ่นประมาท ได้กระทำผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางโปรแกรม Facebook โดยไม่ปรากฏว่าการกระทำความผิดด้วยการนำเข้าข้อความหมิ่นประมาท และการเปิด Facebook พบเห็นข้อความหมิ่นประมาท ได้มีการกระทำ ณ ที่ใดหรือการกระทำความผิดส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำขณะอยู่นอกราชอาณาจักรไทย การที่โปรแกรม Facebook มีที่ตั้งถิ่นฐานที่เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์อยู่นอกราชอาณาจักรไทย ก็เป็นเพียงที่เก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น คดีนี้จึงมีพยานหลักฐานไม่เพียงพอที่จะพิจารณาว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ที่จะให้อัยการสูงสุดจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๐
บทความที่เกี่ยวข้อง
- คดีความผิดนอกราชอาณาจักร
- หมิ่นประมาทโดยส่งต่อข้อความ
ส่วนข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนนั้น
คำพิพากษาศาลจังหวัดชลบุรี คดีหมายเลขดำที่ ๕๕๗๓/๒๕๕๗ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๗๓๗/๒๕๕๘ เห็นว่า “ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
"มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ฯลฯ "
กรณีเป็นการบัญญัติเช่นเดียวกับความผิดข้อหาปลอมเอกสาร เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริงตามประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการปลอมเอกสารไม่ครอบคลุมถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ด้วย
ดังนั้น หากมีการนำข้อมูลปลอม เติม หรือตัดทอน หรือแก้ไขข้อมูลด้วยประการใด ๆ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน อันเป็นองค์ประกอบความผิดข้อหาปลอมเอกสาร แล้วนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ก็จะมีความผิดตามบทบัญญัตินี้
แต่ไม่รวมถึง การกระทำความผิดข้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้เป็นความผิดโดยเฉพาะแล้ว หากจะบัญญัติให้เป็นความผิดเช่นนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังหรือได้รับความอับอาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามมาตรา ๑๖ และเป็นความผิดอันยอมความได้
"มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นความผิดอันยอมความได้ ฯลฯ "
ดังนั้น การกระทำจึงไม่เป็นความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๔ (๑) แต่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๘”
ในส่วนที่จะเป็นความผิดนอกราชอาณาจักรหรือไม่นั้น อัยการสูงสุด เห็นว่า ถ้าผู้เสียหายและผู้ต้องหาเป็นคนไทยและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ประกอบกับพฤติการณ์นำเข้าข้อความหมิ่นประมาท ได้กระทำผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางโปรแกรม Facebook โดยไม่ปรากฏว่าการกระทำความผิดด้วยการนำเข้าข้อความหมิ่นประมาท และการเปิด Facebook พบเห็นข้อความหมิ่นประมาท ได้มีการกระทำ ณ ที่ใดหรือการกระทำความผิดส่วนหนึ่งส่วนใดได้กระทำขณะอยู่นอกราชอาณาจักรไทย การที่โปรแกรม Facebook มีที่ตั้งถิ่นฐานที่เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์อยู่นอกราชอาณาจักรไทย ก็เป็นเพียงที่เก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น คดีนี้จึงมีพยานหลักฐานไม่เพียงพอที่จะพิจารณาว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ที่จะให้อัยการสูงสุดจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๐
บทความที่เกี่ยวข้อง
- คดีความผิดนอกราชอาณาจักร
- หมิ่นประมาทโดยส่งต่อข้อความ