คำชี้ขาดความเห็นแย้งที่ 418/2555
ป.อ. หมิ่นประมาท (มาตรา 326)
อีเมลแอดเอรส mayXXXX@gmail.com ที่ส่งข้อความใส่ความ มายัง อีเมลของผู้กล่าวหาที่ 1 ผู้กล่าวหาที่ 2 และบุคคลอื่นอีกสี่คน ซึ่งผู้กล่าวหาที่ 1 และผู้กล่าวหาที่ 2 ไม่รู้จัก ในคราวเดียวกันนั้น เป็นอีเมลแอดเดรสของผู้ต้องหา สอดคล้องกับชื่อและนามสกุลจริงของผู้ต้องหาตามที่ปรากฏในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้ต้องหาเคยติดต่อกับผู้กล่าวหาที่ 1 ในครั้งที่เคยเป็นแฟนกัน
แม้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว จะส่งถึงผู้กล่าวหาที่ 1 และผู้กล่าวหาที่ 2 โดยตรงก็ตาม แต่เป็นข้อความเหมือนกันซึ่งมีทั้งข้อความที่เป็นการใส่ความผู้กล่าวหาที่ 1 ว่าเป็นผู้ชายเลว ผู้ชายเนรคุณ หลอกลวงผู้หญิงและข้อความ ที่เป็นการใส่ความผู้กล่าวหาที่ 2 ว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี แย่งสามีคนอื่น เป็นเมียน้อยคนอื่น
ดังนั้น ข้อความในส่วนที่เป็นการใส่ความผู้กล่าวหาที่ 1 ผู้กล่าวหาที่ 2 จึงเป็นบุคคลที่สาม ส่วนข้อความในส่วนที่เป็นการใส่ความผู้กล่าวหาที่ 2 ผู้กล่าวหาที่ 1 จึงเป็นบุคคลที่สาม ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้กล่าวหาที่ 1 และผู้กล่าวหาที่ 2 เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
คําชี้ขาดความเห็นแย้งที่ 27/2549
ป.อาญา ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า (ม.393)
ผู้ต้องหาได้ส่งข้อความไปให้ผู้กล่าวหาทางโทรศัพท์มือถือ รวม 12 ข้อความ ต่อมา ผู้กล่าวหาและผู้ต้องหาต่างฝ่ายต่างโทรศัพท์ติดต่อกัน ซึ่งผู้ต้องหาได้ด่าว่าผู้กล่าวหาหลายประโยค โดยข้อความที่ผู้ต้องหาส่งไปและคําด่ามีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้กล่าวหา ผู้กล่าวหาจึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีกับผู้ต้องหาฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า
อัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า เป็นการกระทําเหยียดหยามเกียรติ โดยทําให้ผู้ถูกกระทํารู้ได้หรือทราบได้ขณะมีการกระทําในทันใดนั้นเอง กล่าวคือ เพียงแต่กล่าวถ้อยคําหรือแสดงถ้อยคําให้ผู้ถูกกระทําได้ยินหรือได้ทราบในทันใดนั้นเองก็เป็นความผิดแล้ว ไม่จําต้องกระทําต่อหน้าหรือแม้จะไม่ได้กล่าวต่อหน้า แต่ผู้ถูกกระทําได้ยินถ้อยคําที่ผู้กระทํากล่าวหรือได้ทราบขณะที่กำลังกระทํา ย่อมเป็นความผิดฐานนี้
ดังนั้น การดูหมิ่นผู้อื่นผ่านทางโทรศัพท์ ย่อมเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า จึงชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหา ฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2516
ป.อ. มาตรา 326, 328, 393
การที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 326 นั้น จะต้องได้ความว่าจำเลยได้ใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม แต่ตามฟ้องของโจทก์กล่าวว่า จำเลยมีจดหมายซึ่งมีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงตัวโจทก์โดยตรง แสดงเจตนาของจำเลยว่าจะให้โจทก์เท่านั้นทราบข้อความในจดหมาย มิใช่เจตนาเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม
แม้เสมียนทนายของโจทก์ ซึ่งได้ทราบข้อความจากจดหมายที่จำเลยส่งไปยังสำนักงานทนายความถึงตัวโจทก์นั้น เป็นเรื่องนอกเหนือเจตนาของจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2513 โจทก์ได้รับเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2513 แม้จะฟังว่าข้อความในจดหมายเป็นการดูหมิ่นโจทก์ แต่การที่จำเลยส่งจดหมายไปกว่าจะถึงโจทก์ก็ต่างวันเวลากัน ไม่มีลักษณะเป็นการดูหมิ่นโจทก์ซึ่งหน้าตามความหมายในมาตรา 393 ทั้งไม่ใช่เป็นการดูหมิ่นด้วยการโฆษณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2515
ป.อ. มาตรา 326, 332
การที่จำเลยได้นำเอกสารที่มีข้อความหมิ่นประมาทนายนิรันดร์ ให้นายสำราญอ่านโดยมีนายสวัสดิ์ร่วมฟังด้วย ในเอกสารดังกล่าวมีใจความว่า นายนิรันดร์ได้เข้าหุ้นกับผู้มีชื่อซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ถูกรางวัลที่ 1 นายนิรันดร์ไปรับเอาเงินรางวัลแต่ผู้เดียว คงแบ่งให้ผู้เข้าหุ้นด้วยเพียงห้าพันบาท แล้วหลบหนีไป
การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงข้อความในจดหมายให้ปรากฏแก่บุคคลที่สาม จำเลยย่อมมีเจตนาที่จะให้บุคคลที่สามทราบเรื่องราวในจดหมายนั้น เมื่อจำเลยรู้อยู่ว่าจดหมายมีข้อความหมิ่นประมาททำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ก็นับว่าจำเลยได้ใส่ความผู้เสียหายด้วยถ้อยคำนั้นแล้ว ไม่ต่างอะไรกันกับจำเลยกล่าวถ้อยคำนั้นด้วยวาจา โดยเฉพาะคดีนี้ การที่จำเลยได้เอาจดหมายดังกล่าวให้นายสวัสดิ์อ่าน ก่อนที่นายสำราญจะมาถึงที่เกิดเหตุ โดยนายสวัสดิ์ไม่ได้ร้องขอ ก็แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยได้แจ้งชัดว่าจำเลยต้องการให้บุคคลที่สามรู้เรื่องราวในจดหมายนั้นมาแต่แรกแล้ว
การที่นายสำราญถามจำเลยว่าหนังสืออะไร ก็ไม่ทำให้จำเลยมีความชอบธรรมที่จะเอาข้อความในจดหมายนั้นเปิดเผยแก่นายสำราญอันจะเป็นข้อแก้ตัวให้จำเลยพ้นผิดไปได้ เมื่อนายสำราญเข้าใจข้อความในจดหมายนั้นแล้ว การกระทำของจำเลยก็ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 จำเลยจะได้กล่าวยืนยันข้อความนั้นว่าเป็นความจริงหรือไม่ ไม่เป็นข้อสำคัญ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- คดีความผิดนอกราชอาณาจักร
ป.อ. หมิ่นประมาท (มาตรา 326)
อีเมลแอดเอรส mayXXXX@gmail.com ที่ส่งข้อความใส่ความ มายัง อีเมลของผู้กล่าวหาที่ 1 ผู้กล่าวหาที่ 2 และบุคคลอื่นอีกสี่คน ซึ่งผู้กล่าวหาที่ 1 และผู้กล่าวหาที่ 2 ไม่รู้จัก ในคราวเดียวกันนั้น เป็นอีเมลแอดเดรสของผู้ต้องหา สอดคล้องกับชื่อและนามสกุลจริงของผู้ต้องหาตามที่ปรากฏในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้ต้องหาเคยติดต่อกับผู้กล่าวหาที่ 1 ในครั้งที่เคยเป็นแฟนกัน
แม้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว จะส่งถึงผู้กล่าวหาที่ 1 และผู้กล่าวหาที่ 2 โดยตรงก็ตาม แต่เป็นข้อความเหมือนกันซึ่งมีทั้งข้อความที่เป็นการใส่ความผู้กล่าวหาที่ 1 ว่าเป็นผู้ชายเลว ผู้ชายเนรคุณ หลอกลวงผู้หญิงและข้อความ ที่เป็นการใส่ความผู้กล่าวหาที่ 2 ว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี แย่งสามีคนอื่น เป็นเมียน้อยคนอื่น
ดังนั้น ข้อความในส่วนที่เป็นการใส่ความผู้กล่าวหาที่ 1 ผู้กล่าวหาที่ 2 จึงเป็นบุคคลที่สาม ส่วนข้อความในส่วนที่เป็นการใส่ความผู้กล่าวหาที่ 2 ผู้กล่าวหาที่ 1 จึงเป็นบุคคลที่สาม ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้กล่าวหาที่ 1 และผู้กล่าวหาที่ 2 เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
คําชี้ขาดความเห็นแย้งที่ 27/2549
ป.อาญา ดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า (ม.393)
ผู้ต้องหาได้ส่งข้อความไปให้ผู้กล่าวหาทางโทรศัพท์มือถือ รวม 12 ข้อความ ต่อมา ผู้กล่าวหาและผู้ต้องหาต่างฝ่ายต่างโทรศัพท์ติดต่อกัน ซึ่งผู้ต้องหาได้ด่าว่าผู้กล่าวหาหลายประโยค โดยข้อความที่ผู้ต้องหาส่งไปและคําด่ามีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้กล่าวหา ผู้กล่าวหาจึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดําเนินคดีกับผู้ต้องหาฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า
อัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า เป็นการกระทําเหยียดหยามเกียรติ โดยทําให้ผู้ถูกกระทํารู้ได้หรือทราบได้ขณะมีการกระทําในทันใดนั้นเอง กล่าวคือ เพียงแต่กล่าวถ้อยคําหรือแสดงถ้อยคําให้ผู้ถูกกระทําได้ยินหรือได้ทราบในทันใดนั้นเองก็เป็นความผิดแล้ว ไม่จําต้องกระทําต่อหน้าหรือแม้จะไม่ได้กล่าวต่อหน้า แต่ผู้ถูกกระทําได้ยินถ้อยคําที่ผู้กระทํากล่าวหรือได้ทราบขณะที่กำลังกระทํา ย่อมเป็นความผิดฐานนี้
ดังนั้น การดูหมิ่นผู้อื่นผ่านทางโทรศัพท์ ย่อมเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า จึงชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหา ฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2516
ป.อ. มาตรา 326, 328, 393
การที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 326 นั้น จะต้องได้ความว่าจำเลยได้ใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม แต่ตามฟ้องของโจทก์กล่าวว่า จำเลยมีจดหมายซึ่งมีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงตัวโจทก์โดยตรง แสดงเจตนาของจำเลยว่าจะให้โจทก์เท่านั้นทราบข้อความในจดหมาย มิใช่เจตนาเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม
แม้เสมียนทนายของโจทก์ ซึ่งได้ทราบข้อความจากจดหมายที่จำเลยส่งไปยังสำนักงานทนายความถึงตัวโจทก์นั้น เป็นเรื่องนอกเหนือเจตนาของจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2513 โจทก์ได้รับเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2513 แม้จะฟังว่าข้อความในจดหมายเป็นการดูหมิ่นโจทก์ แต่การที่จำเลยส่งจดหมายไปกว่าจะถึงโจทก์ก็ต่างวันเวลากัน ไม่มีลักษณะเป็นการดูหมิ่นโจทก์ซึ่งหน้าตามความหมายในมาตรา 393 ทั้งไม่ใช่เป็นการดูหมิ่นด้วยการโฆษณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2515
ป.อ. มาตรา 326, 332
การที่จำเลยได้นำเอกสารที่มีข้อความหมิ่นประมาทนายนิรันดร์ ให้นายสำราญอ่านโดยมีนายสวัสดิ์ร่วมฟังด้วย ในเอกสารดังกล่าวมีใจความว่า นายนิรันดร์ได้เข้าหุ้นกับผู้มีชื่อซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ถูกรางวัลที่ 1 นายนิรันดร์ไปรับเอาเงินรางวัลแต่ผู้เดียว คงแบ่งให้ผู้เข้าหุ้นด้วยเพียงห้าพันบาท แล้วหลบหนีไป
การกระทำของจำเลยเป็นการแสดงข้อความในจดหมายให้ปรากฏแก่บุคคลที่สาม จำเลยย่อมมีเจตนาที่จะให้บุคคลที่สามทราบเรื่องราวในจดหมายนั้น เมื่อจำเลยรู้อยู่ว่าจดหมายมีข้อความหมิ่นประมาททำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ก็นับว่าจำเลยได้ใส่ความผู้เสียหายด้วยถ้อยคำนั้นแล้ว ไม่ต่างอะไรกันกับจำเลยกล่าวถ้อยคำนั้นด้วยวาจา โดยเฉพาะคดีนี้ การที่จำเลยได้เอาจดหมายดังกล่าวให้นายสวัสดิ์อ่าน ก่อนที่นายสำราญจะมาถึงที่เกิดเหตุ โดยนายสวัสดิ์ไม่ได้ร้องขอ ก็แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยได้แจ้งชัดว่าจำเลยต้องการให้บุคคลที่สามรู้เรื่องราวในจดหมายนั้นมาแต่แรกแล้ว
การที่นายสำราญถามจำเลยว่าหนังสืออะไร ก็ไม่ทำให้จำเลยมีความชอบธรรมที่จะเอาข้อความในจดหมายนั้นเปิดเผยแก่นายสำราญอันจะเป็นข้อแก้ตัวให้จำเลยพ้นผิดไปได้ เมื่อนายสำราญเข้าใจข้อความในจดหมายนั้นแล้ว การกระทำของจำเลยก็ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 จำเลยจะได้กล่าวยืนยันข้อความนั้นว่าเป็นความจริงหรือไม่ ไม่เป็นข้อสำคัญ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- คดีความผิดนอกราชอาณาจักร